หน้าเว็บ

วิศวกรรมไฟฟ้า กับการทำงานจริง

? วิศวกรรมไฟฟ้าในตำรา กับ การทำงานจริง ?




หลายคนเคยฝันว่าอยากทำงานเป็นวิศวกร จึงดั้นด้นเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย หลังจากจบการศึกษา แล้วได้ทำงานเป็นวิศวกร สมปรารถนา (บางคนก็ไม่สมปรารถนา) ชีิวิตการทำงานในหน้าที่วิศวกรนั้น ทำให้หลายคนเริ่มเหนื่อย ท้อ เพราะอะไร ?
สำหรับหลายท่านอาจมีหลายเหตุผลที่แตกต่างจากผม ซึ่งผมจะขอกล่าวเฉพาะในส่วนที่เป็นประสบการณ์ตรงของผมก็แล้วกัน
สิ่งที่ทำให้วิศวกรผู้เปี่ยมไปด้วยความรู้ เหนื่อย และ ท้อ(บางคน) มีดังนี้
1.ผู้บังคับบัญชา (เจ้านาย) ที่เกิดในยุคไดโนเสาร์ แล้วไม่ยอมปรับตัวตามยุคสมัย (อันนี้น่าจะมีเยอะในหลายๆองค์กร โดยเฉพาะองค์กรขนาดกลางลงมา ) ปัญหาของการทำงานกับคนกลุ่มนี้คือ ความรู้หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ เทคนิคสมัยใหม่ๆ ที่อยู่ในหัวคุณจะไม่มีค่าอะไรเลยถ้าคนกลุ่มนี้ไม่เห็นด้วย แถมบางทีคุณต้องยอมย้อนยุคไปเรียนรู้ยุคไดโนเสาร์กับเขาด้วย 555 (อันนี้ผมเจอเองกับตัว ยอมรับว่าเป็นการทำงานที่อึดอัดเหมือนกัน)
2.คนที่ไม่รู้จักหน้าที่ตนเอง  อันนี้ส่วนใหญ่พบในระดับปฏิบัติการ เชื่อว่าหลายท่านคงเจอ คือประโยคที่ว่า "คุณมาทำเองสิ" , "คุณคิดคุณก็ทำดิ" หรือโหดร้ายกว่านั้น ไม่เห็นมึงมาแบกเหล็กดัดท่อว่ะ  เหอะๆ ก็น่าขำเหมือนกัน ต่างคนก็ต่างมีหน้าที่(หน้างาน)ที่ต้องรับผิดชอบตามตำแหน่ง สถานะของแต่ละคน (เข้าใจกันทำงานเป็นทีมนะครับอิิอิ)
3."งก"  หลายองค์กรมีผู้บริหารที่อยากได้แต่ของดีๆ ระบบดีๆ แต่จ่ายน๊อย น้อย วิศวกรอย่างเราๆต้องปวดหัวไปตามๆกัน ของดีแล้วถูก ถามว่ามีใหม่ มีครับ แต่เอาเวลาไปงมกล่องดำ MH370 ยังเป็นความคิดที่ดีกว่าครับ
4....................
(ข้อความข้างต้นเป็นทัศนะของผมเองน่ะครับไม่ได้มีเจตนาทำร้ายใครครับขอบคุณที่ติดตามครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม