เงินเดือนวิศวกรไฟฟ้า
สวัสดีอีกครั้งครับบล็อกนี้เงียบไปนานก็เลยต้องจั่วหัวเรื่องให้ดูน่าตื่นเต้นกันซักหน่อย
สำหรับรายได้ของวิศวกรไฟฟ้านั้นแบ่งเป็นสองรูปแบบหลักครับ (ตามเกณฑ์ผมเอง)ได้แก่
1.รายได้ประจำ
วิศวกรส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีรายได้ในรูปแบบนี้คือ เงินเดือน โดยค่าจ้าง(ค่าตัว)
สำหรับวิศวกรไฟฟ้าที่ทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าโดยตรง (ทั้งงานออกแบบ งานติดตั้ง งานซ่อมบำรุง งานตรวจสอบ เหมารวม) รายได้ขั้นต่ำอยู่ที่ 16xxx บาท/เดือน (ปี 2557) (ความจริงมีต่ำกว่านี้กรณีที่เป็นองค์กรขนาดเล็ก)
แต่ช้าก่อน!! อย่าพึ่งตกใจเรียนมาตั้งนมนาน ได้ค่าจ้างแค่นี้ไม่คุ้มกับที่ลงทุนเรียนลงทุนสอบ ตัวเลขข้างต้นเป็น
ตัวเลขขององค์กรที่จ่ายน้อย (สำหรับวิศวกรไฟฟ้าที่ทำงานตรงสาย) ยังมีอีกหลายองค์กรที่จ่าย 20K UP ซึ่งก็แล้วแต่ผู้สนใจจะเลือกสมัครครับ (แหะๆพูดเหมือนช็อปปิ้งเลยที่ไหนจ่ายมากก็ทำที่นั่น ถ้าเขารับนะฮะ)
อ้อ ยังมีวิศวกรไฟฟ้าอีกจำนวนหนึ่ง ที่ทำงานไม่ตรงสาย เช่นต้องทำงานในตำแหน่งที่ไม่ได้ดูแลเรื่องระบบไฟฟ้าโดยตรงแต่ก็ต้องใช้พื้นฐานทางวิศวกรรมในการทำงาน เช่น วิศวกรคุณภาพ วิศวกรการผลิต วิศวกรจัดซื้อ เป็นต้น อัตราค่าจ้างหรือ
เงินเดือนวิศวกรขั้นต่ำก็ไม่ต่างกันมาก แต่อาจจะต้อง
อึดอัดนิดนึงเวลาทำงานเพราะต้องเรียนรู้งานใหม่หมด (ก็ไม่ตรงสายนี่นา)
2.รายได้เป็นก้อน (อาจไม่ประจำ)
นั่นก็คืองานอิสระ (Freelance) ครับ มีวิศวกรไฟฟ้าอีกจำนวนไม่น้อยที่ทำงานอิสระ (ตรง Concept เพราะวิศวกรคือวิชาชีพอิสระฮ้าๆ) งานลักษณะนี้จะได้รับเป็นงวดๆ อาจจะ 50% งวดแรก และ อีก 50% หลังส่งงาน
เป็นต้น ซึ่งงาน Freelance คล้ายงานขายสินค้า โดยมีมันสมองของเราเป็นสินค้า ซึ่งแน่นอนว่าถ้าสินค้าใครดีไม่ว่าจะโปรโมทดี คุณภาพดี ราคาถูก (หมายถึงถูกใจคนซื้ออะน่ะ) ก็จะมีรายรับเยอะหน่อย ถ้าใครอยากทำงานในลักษณะนี้สิ่งที่จะช่วยได้มากก็คือ ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) และ ผลงานที่เคยทำมา ครับ