หน้าเว็บ

ทำไมต้องมีวิศวกรรมไฟฟ้า



ภาพการติดตั้งระบบไฟฟ้า (ขอบคุณ TMCC)
มีคนเคยถามผมว่า...ทำไมต้องมีวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า ทำไมต้องเสียเงินตั้งเยอะเพิ่มจ้างวิศวกรไฟฟ้า แค่งานต่อสาย ติดตั้งตู้แค่นี้ ถ้าเคยทำงานสักสองสามปีไม่ว่าจบอะไรมาก็ทำได้ทั้งนั้น ผมจึงตอบเขาไปว่า "ใช่ครับพี่ ถูกต้องแล้วครับ" แต่ก็ไม่ได้อธิบายต่อ

ท่อสายไฟฟ้า PVC กับ เหล็ก ต่างกันอย่างไร

ท่อสายไฟฟ้า PVC กับ เหล็ก ต่างกันอย่างไร
     ท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้าแบ่งเป็นสองชนิดหลักๆคือ ท่อโลหะ กับ ท่ออโลหะ
ที่คุ้นตา คุ้นมือช่างไฟฟ้าเห็นจะเป็น ท่อ PVC (อโลหะ) และ ท่อเหล็กบาง,เหล็กหนา(ท่อโลหะ)
ซึ่่งความแตกต่างระหว่างท่อ PVC  กับ ท่อเหล็กมีสองส่วนด้วยกันคือ
1.ความทนทานต่อแรงกระทำทางกลท่อเหล็กจะทำคะแนนได้ดีกว่าท่อ PVC
2.ความทนทานต่อการกัดกร่อนจากไอสารเคมี เกลือ ฯลฯ ท่อ PVC จะทำได้ดีกว่าท่อเหล็ก
3.การระบายความร้อน ท่อเหล็กจะทำได้ดีกว่าท่อ PVC
4.เรื่องสนามแม่เหล็กและสัญญาณรบกวนท่อเหล็กจะป้องกันได้ดีกว่า(ระบบสายดินกับท่อต้องเชื่อมถึงกัน)
5.กรณีเกิดไฟไหม้หรือการลัดวงจรภายในท่อ ท่อโลหะจะปลอดภัยกว่าท่อ PVC (ท่อโลหะต้องมีการเชื่อมถึงกันทางไฟฟ้ากับระบบสายดิน)

      อย่างไรก็ตามในการเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับการออกแบบและความต้องการหรือมาตรฐานของระบบนั้นๆเป็นหลักครับ



คุณสมบัติของเครื่องป้องกันไฟเครื่องตัดไฟรั่ว

เครื่องตัดไฟรั่วคืออะไร

เครื่องตัดไฟรั่วเป็นอุปกรณ์ที่จะตัดวงจรเมื่อเกิดภาวะกระแสผิดพร่อง (Fault) ขึ้นในระบบซึ่งภาวะนี้จะเกิดขึ้น
เมื่อปริมาณกระแสที่เข้าสู่ระบบ (สาย Line) ไม่เท่ากับกระแสที่ออกมาจากระบบ (ทางสาย Neutral) 
เอาแบบเข้าใจง่ายก็คือ กระแสขาเข้ากับออกต้องใกล้เคียงกัน หากกระแสไม่เท่ากันแสดงว่ามีการลัดวงจรเกิดขึ้น
อาจจะเป็นสายไฟแตะกัน มนุษย์ หรือวัสดุตัวนำไฟฟ้าอื่นๆเป็นตัวเชื่อมวงจร จะทำให้กระแสส่วนหนึ่่งลัดวงจร
ผ่านวัสดุตัวนำนั้นลงสู่พื้นดิน ทำให้กระแสเข้ากับออกไม่เท่ากันในช่วงที่เกิดการลัดวงจร

สำหรับคุณสมบัติหลักๆของอุปกรณ์ตัดไฟรั่วมีดังนี้
1.ขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วที่เครื่องตรวจจับได้ต้องไม่เกิน 30 mA.
2.ระยะเวลาในการตัดวงจรต้องไม่เกิน 0.04 วินาทีที่ไฟรั่ว 5 เท่า
3.ต้องไม่ตัดวงจรในกรณีที่มีไฟรั่วแค่ครึ่งหนึ่ง
4.ควรติดตั้งในวงจรย่อยแต่ละวงจร

เงินเดือนวิศวกรไฟฟ้า

เงินเดือนวิศวกรไฟฟ้า

 สวัสดีอีกครั้งครับบล็อกนี้เงียบไปนานก็เลยต้องจั่วหัวเรื่องให้ดูน่าตื่นเต้นกันซักหน่อย 
สำหรับรายได้ของวิศวกรไฟฟ้านั้นแบ่งเป็นสองรูปแบบหลักครับ (ตามเกณฑ์ผมเอง)ได้แก่
1.รายได้ประจำ 
        วิศวกรส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีรายได้ในรูปแบบนี้คือ เงินเดือน โดยค่าจ้าง(ค่าตัว) 
สำหรับวิศวกรไฟฟ้าที่ทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าโดยตรง (ทั้งงานออกแบบ งานติดตั้ง งานซ่อมบำรุง งานตรวจสอบ เหมารวม) รายได้ขั้นต่ำอยู่ที่ 16xxx บาท/เดือน (ปี 2557) (ความจริงมีต่ำกว่านี้กรณีที่เป็นองค์กรขนาดเล็ก) 
แต่ช้าก่อน!! อย่าพึ่งตกใจเรียนมาตั้งนมนาน ได้ค่าจ้างแค่นี้ไม่คุ้มกับที่ลงทุนเรียนลงทุนสอบ  ตัวเลขข้างต้นเป็น
ตัวเลขขององค์กรที่จ่ายน้อย (สำหรับวิศวกรไฟฟ้าที่ทำงานตรงสาย) ยังมีอีกหลายองค์กรที่จ่าย 20K UP ซึ่งก็แล้วแต่ผู้สนใจจะเลือกสมัครครับ (แหะๆพูดเหมือนช็อปปิ้งเลยที่ไหนจ่ายมากก็ทำที่นั่น ถ้าเขารับนะฮะ)
         อ้อ ยังมีวิศวกรไฟฟ้าอีกจำนวนหนึ่ง ที่ทำงานไม่ตรงสาย เช่นต้องทำงานในตำแหน่งที่ไม่ได้ดูแลเรื่องระบบไฟฟ้าโดยตรงแต่ก็ต้องใช้พื้นฐานทางวิศวกรรมในการทำงาน เช่น วิศวกรคุณภาพ วิศวกรการผลิต วิศวกรจัดซื้อ เป็นต้น อัตราค่าจ้างหรือเงินเดือนวิศวกรขั้นต่ำก็ไม่ต่างกันมาก แต่อาจจะต้อง
อึดอัดนิดนึงเวลาทำงานเพราะต้องเรียนรู้งานใหม่หมด (ก็ไม่ตรงสายนี่นา) 

2.รายได้เป็นก้อน (อาจไม่ประจำ)
          นั่นก็คืองานอิสระ (Freelance) ครับ มีวิศวกรไฟฟ้าอีกจำนวนไม่น้อยที่ทำงานอิสระ (ตรง Concept เพราะวิศวกรคือวิชาชีพอิสระฮ้าๆ) งานลักษณะนี้จะได้รับเป็นงวดๆ อาจจะ 50% งวดแรก และ อีก 50% หลังส่งงาน
เป็นต้น ซึ่งงาน Freelance คล้ายงานขายสินค้า โดยมีมันสมองของเราเป็นสินค้า ซึ่งแน่นอนว่าถ้าสินค้าใครดีไม่ว่าจะโปรโมทดี คุณภาพดี ราคาถูก (หมายถึงถูกใจคนซื้ออะน่ะ) ก็จะมีรายรับเยอะหน่อย ถ้าใครอยากทำงานในลักษณะนี้สิ่งที่จะช่วยได้มากก็คือ ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) และ ผลงานที่เคยทำมา ครับ


วิศวกรรมไฟฟ้า กับการทำงานจริง

? วิศวกรรมไฟฟ้าในตำรา กับ การทำงานจริง ?




หลายคนเคยฝันว่าอยากทำงานเป็นวิศวกร จึงดั้นด้นเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย หลังจากจบการศึกษา แล้วได้ทำงานเป็นวิศวกร สมปรารถนา (บางคนก็ไม่สมปรารถนา) ชีิวิตการทำงานในหน้าที่วิศวกรนั้น ทำให้หลายคนเริ่มเหนื่อย ท้อ เพราะอะไร ?
สำหรับหลายท่านอาจมีหลายเหตุผลที่แตกต่างจากผม ซึ่งผมจะขอกล่าวเฉพาะในส่วนที่เป็นประสบการณ์ตรงของผมก็แล้วกัน
สิ่งที่ทำให้วิศวกรผู้เปี่ยมไปด้วยความรู้ เหนื่อย และ ท้อ(บางคน) มีดังนี้

ผู้ติดตาม