หน้าเว็บ

ทำไมต้องมีวิศวกรรมไฟฟ้า



ภาพการติดตั้งระบบไฟฟ้า (ขอบคุณ TMCC)
มีคนเคยถามผมว่า...ทำไมต้องมีวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า ทำไมต้องเสียเงินตั้งเยอะเพิ่มจ้างวิศวกรไฟฟ้า แค่งานต่อสาย ติดตั้งตู้แค่นี้ ถ้าเคยทำงานสักสองสามปีไม่ว่าจบอะไรมาก็ทำได้ทั้งนั้น ผมจึงตอบเขาไปว่า "ใช่ครับพี่ ถูกต้องแล้วครับ" แต่ก็ไม่ได้อธิบายต่อ

    ที่ผมตอบแบบนั้นไม่ได้ประชด แต่มันเป็นความจริงในมิติของงานติดตั้ง แต่ในมิติด้านอื่นๆที่อยู่เบื้องหลังก่อนที่จะถูกถ่ายทอดลงสู่หน้างานให้ผู้ติดตั้งหรือช่างทำงานอย่างที่เห็น ทั้งการออกแบบ การคำนวณ การวางแผน ฯลฯ ล้วนต้องใช้ทักษะ ความสามารถของบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากมาย ถ้าว่าไปก็จะยืดยาว สรุปง่ายๆแล้วกันว่า คำว่าระบบไฟฟ้าที่ดี นอกจากติดตั้งสวยงาม เรียบร้อย ต่อสายถูก เปิดสวิตช์แล้วหลอดไฟสว่าง ยังต้องมีมิติด้านอื่นๆดังนี้
1.เสถียรภาพและความเชื่อถือได้ของระบบ หมายความว่า ระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งไปนั้นต้องสามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้ตามที่ออกแบบไว้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตลอดอายุการใช้งาน
2.ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ หมายความว่า การเลือกวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการติดตั้ง ต้องเหมาะสมกับงบประมาณและให้ผลคุ้มค่ากับการลงทุน บนพื้นฐานของ "มาตรฐาน" (ไม่ใช่เอาของถูกเป็นหลัก)
3.การบำรุงรักษา หมายความว่า นอกจากการติดตั้งให้เสร็จๆไปแล้วยังต้องคำนึงด้วยว่าจะส่งผลในการบำรุงรักษาในอนาคตหรือไม่ โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าโรงงาน เพราะบ่อยครั้งการออกแบบติดตั้งระบบไฟฟ้าไม่เหมาะสม อาจต้องหยุดไลน์ผลิตเพื่อซ่อมบำรุง(เกิดความสูญเสียทั้งทางตรง ทางอ้อม)
4.ความปลอดภัย ทั้งต่อผู้ใช้งานและช่างติดตั้ง ช่างซ่อมบำรุง (บ่อยครั้งที่ิ่ข้อนี้ขัดกับข้อ 2.)
5.ความยืดหยุ่นของระบบ หมายถึงระบบไฟฟ้าต้องสามารถรองรับการเพิ่มของโหลดในอนาคตได้ในระดับหนึ่ง (ต้องคำนวณตั้งแต่เริ่มออกแบบ)

     ...ดังนั้นแล้วจึงจำเป็นต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีองค์ความรู้เชิงลึกหลายๆมิติในการสรรค์สร้างระบบไฟฟ้าให้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์การใช้งานครับผม...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม