หน้าเว็บ

ทำไมต้องต่อสายนิวทรัลกับสายดินเชื่อมถึงกัน

เรื่องการต่อระบบสายดิน

ที่มีการถกเถียงกันในประเด็นที่ว่า ถูกต้องหรือไม่ที่ต้องต่อสายนิวทรัลกับกราวน์ในตู้ MDB หรือจะเป็น consumer unit สำหรับบ้านพักอาศัย ดังภาพ

 การต่อดังภาพเป็นการต่อระบบสายดินที่มีประสิทธิภาพที่สุดเป็นมาตรฐานที่การไฟฟ้าให้การยอมรับ แต่ถึงกระนั้นก็เป็นที่ข้องใจของช่างบางท่าน
(ต้องเข้าใจน่ะครับว่าช่างไฟฟ้ามีที่มาหลายแบบเช่น เรียนรู้ด้วยตนเอง ครูพักลักจำ  อาศัยทำงานมานาน(เรียกว่าเรียนรู้จากประสบการณ์)  ปวช. ปวส. เป็นต้นซึ่งก็เป็นเรื่องปรกติที่ต้องมีความคิดเห็นต่างกัน
    เอาหล่ะครับมาดูกันว่าทำไมวิธีต่อระบบสายดินดังภาพจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
1.การต่อดังภาพจะทำให้สายนิวทรัลมีแรงดันเท่ากับศูนย์หรือใกล้เคียงศูนย์ ทำให้เครื่องป้องกันไฟดูด เครื่องปลดวงจร ทำงานเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น(ทำให้ลดโอกาสการสูญเสีย)
2.เนื่องจากสาย N ที่ต่อมาจากการไฟฟ้านั้นมีการต่อลงดินเป็นระยะๆทำให้เมื่อมีการลัดวงจร หรือเกิด fault ขึ้นในระบบจะทำให้กระแสเกินเหล่านั้นวิ่งลงดินอย่างรวดเร็วกว่าระบบสายดินแบบอื่นทำให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้มากกว่า
ฯลฯ

ข้อควรระวังของการต่อแบบนี้คือ :  ห้ามต่อสลับสาย L กับ N เด็ดขาด 

  ก่อนจบบทความผมขอฝากถึงผู้ที่ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าขอให้ท่านทั้งหลายจงศึกษาให้ถ่องแท้ในศาสตร์ทางไฟฟ้า อย่าใช้ความรู้สึก หรือ "คำว่าผมคิดว่า" การจะดัดแปลง แก้ไข ติดตั้ง ควรมีหลักวิชามาอ้างอิง หลักวิชานั้นก็ควรเป็นหลักวิชาที่ถูกต้อง มีการทดลอง มีการวิจัย มีหลักฐาน มีการยอมรับในวงกว้าง อย่าใช้คำว่าผมได้ยินคนนั้นคนนี้ว่ามา  
  ก่อนที่ผมจะเขียนบทความนี้ผมลองค้นหาในอินเทอร์เน็ตปรากฎว่ามีผู้ที่อ้างว่าเป็นช่างไฟฟ้า เป็นวิศวกรไฟฟ้า หลายท่านแสดงความคิดเห็นในเรื่องการต่อสายดินกับสายนิวทรัลซึ่งมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการต่อแบบนี้สำหรับท่านที่ไม่เห็นด้วยก็ขอให้ท่านตระหนักด้วยว่า คำว่ามาตรฐานนั้นแสดงให้เห็นว่ามันเป็นวิธีการที่มีการทดสอบ ยอมรับ ผ่านการคิดวิเคราะห์ตามหลักวิศวกรรมมาแล้วทั้งนั้น ท่านก็ควรปฏิบัติตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม